วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา
การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน
  วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ
- วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11 - วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้
1.   เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
2.   ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
3.   ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
4.   พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปห   อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันเข้าพรรษา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันวิสาขบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๖
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปข   อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันวิสาขบูชา

ชาวพุทธตัวอย่าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์  mรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2411 สวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 42 ปี
พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัติย์ที่ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย เป็นที่พึ่งตลอดระยะเวลายาวนานถึง 42 ปี ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นเอนกนานัปการ เช่น โปรดให้ยกเลิกประเพณีหมอบคลานและกราบ โดยให้ใช้ยืนและคำนับแทน โปรดให้เลิกทาส ตั้งโรงเรียนหลวงสอนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โปรดให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาในต่างประเทศ ทรงปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และแบ่งหน้าที่ราชการให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายกัน ในส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล ส่วนในจังหวัดหนึ่งๆ ก็ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลรับผิดชอบ อาณาเขตจังหวัดก็แบ่งเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โปรดให้จัดการในเรื่องการสุขาภิบาล การบำรุงท้องที่ การไปรษณีย์ การโทรเลข การไฟฟ้า การรถไฟ โปรดให้ตั้งกระทรวงสำคัญๆ ต่างๆ และกิจการในด้านศาลยุติธรรม โ   อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ร 5

พุทธสาวิกา

พระนางมัลลิกา
ทรงเป็นธิดาของช่างทำดอกไม้   มีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำพวงมาลัยทุกวันเพื่อไว้ขายเป็นประจำ  นางได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย   เมื่อนางมีอายุประมาณ 16 ปี ขณะเก็บดอกไม้ นางได้ร้องเพลงไปพลางเก็บดอกไม้ไปพลางอย่างมีความสุข ในขณะนั้นเองพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชน ได้ฟังเพลงที่นางขับร้องได้อย่างไพเราะจับใจจึงปรากฏพระองค์ขึ้นและสนทนากับนาง ก็รู้สึกพอพระทัยมากขึ้น ต่อมาอีกสองสามวัน พระองค์จึงส่งเจ้าหน้าที่ให้ไปรับนางมาไว้ในพระราชวัง นางจึงรู้ความจริงว่า บุรุษที่นางสนทนาด้วยในวันก่อนนั้นเป็นพระราชาพระนามว่า ปเสนทิโกศล และพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงอภิเษกสมรสกับนาง และทรงสถาปนาให้เป็นพระมเหสีด้วย   พระนางมัลลิกาเป็นสตรีที่มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีทรงเป็นที่รักและชื่นชมของพระสวามีเป็นอย่างมากพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแม้ว่าในระยะหลังนี้พระองค์จะหันมาสนใจในพระพุทธศาสนาก็ยังมีความเชื่อลัทธิดั้งเดิมบางอย่างอยู่ เช่น เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชายัญ ครั้งหนึ่ง พระองค์รับสั่งให้ตระเตรียมพิธีบูชายิ่งใหญ่ มีการฆ่าสัตว์อย่างละ 700 ตัว เซ่นสรวงด้วย พระนางมัลลิกาทรงทัดทานมิให้พระองค์ทำบาป และได้แนะนำให้พระองค์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอรับคำแนะนำซึ่งพระองค์ก็ทรงทำตาม และยกเลิกพิธีบูชายัญ  เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลแข่งกับชาวเมืองทำบุญกัน ประชาชนมักจะทำทานอันประณีตและมโหฬาร พ   อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นางมัลลิกา

พุทธสาวก

พระอานนท์
ประวัติ พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระสุกโกทนะ ผู้เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา (พระราชโอรสของพระเจ้าอา) ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรุทธะและอุบาลี (ศึกษาประวัติเบื้องต้นในประวัติของพระอนุรุทธเถระ) เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากรพปุณณมันตานี ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฏฐาก ในช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น พระนาคสมาละ พระนาคิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพังขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่น ครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล พอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระทราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า”
“อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า”
พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
“นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ต   อ่านเพิ่มเติม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พุทธศาสนิกตัวอย่าง พระอานนท์
พระมหาชนก
ณ เมืองมิถิลาแห่งรัฐวิเทหะ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาชนก ทรงมีพระโอรสสององค์ คือ เจ้าอริฏฐชนก และ เจ้าโปลชนก เจ้าอริฏฐชนกทรงเป็นอุปราช ส่วนเจ้าโปลชนกทรง เป็นเสนาบดี เมื่อพระราชบิดาสวรรคต เจ้าอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราช ก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา เจ้าโปลชนกทรงเป็นอุปราช ทรงเอาใจใส่ดูแลบ้านเมืองช่วยเหลือ
พระเชษฐาอย่างดียิ่ง มีอำมาตย์คนหนึ่งไม่พอใจพระเจ้าโปลชนก จึงหาอุบายให้ พระราชาอริฏฐชนกระแวงพระอนุชา โดยทูลพระราชาว่า เจ้าโปลชนกคิดขบถ จะปลงพระชนม์พระราชา พระราชาทรงเชื่อคำอำมาตย์ จึงให้จับเจ้าโปลชนกไปขังไว้  ต่อมา เจ้าโปลชนกเสด็จหนี ไปจากที่คุมขังได้หลบไปอยู่ที่ชายแดนเมืองมิถิลา เจ้าโปลชนก ทรงคิดว่า เมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปราชนั้น มิได้เคยคิดร้ายต่อพระราชา ผู้เป็นพี่เลย แต่ก็ยังถูกระแวงจนต้องหนีมา ถ้าพระราชาทรงรู้ว่า อยู่ที่ไหนก็คงให้ทหารมาจับไปอีกจนได้ บัดนี้ผู้คนมากมาย ที่ชายแดนที่เห็นใจ และพร้อมที่จะเข้าเป็นพวกด้วย ควรที่จะรวบรวมผู้คนไปโจมตีเมืองมิถิลาเสียก่อนจึงจะดีกว่า เมื่อคิดดังนั้นแล้ว เจ้าโปลชนกก็พาสมัครพรรคพวกยกเป็น กองทัพไปล้อมเมืองมิถิลา บรรดาทหารแห่งเมืองมิถิลาพากัน เข้ากับเจ้าโปลชนกอีกเป็นจำนวนมาก เพราะเห็นว่าเจ้าโปลชนก เป็นผู้ซื่อสัตย์และมีความสามารถ แต่กลับถูกพระราชาระแวง และจับไปขังไว้โดยไม่ยุติธรรม ครั้นเมื่อเจ้าโปลชนกมีผู้คนไพร่พลเข้าสมทบด้วยเป็นจำนวน มากมายเช่นนี้ พระเจ้าอริฏฐชนกทรงเห็นว่า ไ   อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มหาชนก ชาดก
สุ ว ร ร ณ ส า ม ช า ด ก
ครั้งหนึ่ง มีสหายสองคนรักใคร่กันมาก ต่างก็ตั้งบ้านเรือน อยู่ใกล้เคียงกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ทั้งสองคนตั้งใจว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งมีลูกสาว อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกชาย ก็จะให้แต่งงาน เพื่อครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะได้ ผูกพันใกล้ชิดกันไม่มีเสื่อมคลาย อยู่ต่อมาฝ่ายหนึ่งก็มีลูกชายชื่อว่า ทุกูลกุมาร อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกสาว ชื่อว่า ปาริกากุมารี เด็กทั้งสองมีรูป ร่างหน่าตางดงาม สติปัญญาฉลาดเฉลียว และมีจิตใจมั่นอยู่ในศีล เมื่อเติบโตขึ้น พ่อแม่ของทั้งสองก็ตกลงจะทำตามที่เคย ตั้งใจไว้ คือให้ลูกของทั้งสองบ้านได้แต่งงานกัน แต่ทั้งทุกูลกุมารและปาริกากุมารี ต่างบอกกับพ่อแม่ ของตนว่า ไม่ต้องการแต่งงานกัน แม้จะรู้ดีว่า ฝ่ายหนึ่ง เป็นคนดี รูปร่างหน้าตางดงาม และเป็นเพื่อนสนิท มาตั้งแต่เด็กก็ตาม ในที่สุด พ่อแม่ของทั้งสองก็จัดการแต่งงานให้จนได้ แต่แม้ว่าทุกูลและปาริกาจะแต่งงานกันแล้ว ต่างยังคงประพฤติ ปฏิบัติเสมือนเป็นเพื่อนกันตลอดมา ไม่เคยประพฤติต่อกัน ฉันสามีภรรยา ยิ่งไปกว่านั้นทั้ง สองคนมีความปราถนาตรงกัน คือประสงค์จะออกบวช ไม่อยากดำเนินชีวิตอย่างชาวบ้าน ธรรมดาซึ่ง จะต้องพัวพันอยู่กับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อเป็นอาหารบ้าง เพื่อป้องกันตัวเองบ้าง
   เมื่อได้อ้อนวอนพ่อแม่ทั้งสองบ้านอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุด ทั้งสองก็ได้รับคำอนุญาตให้บวชได้ จึงพากัน เดินทางไปสู่ป่าใหญ่ และอธิษฐานออกบวช นุ่งห่มผ้าย้อม เปลือกไม้และไว้มวยผมอย่างดาบส บำเพ็ญ ธรรมอยู่ ณ ศ   อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สุวรรณ สาม ชาดก